จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันนี้

Social learning and Socia lMedia


Social Learning

การเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning) หมายถึงการเรียนรู้เงื่อนไขต่างๆ ในสังคม การเรียนรู้นี้ทำให้คนมีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมต่างๆ ตามที่สังคมนั้นๆ มีอยู่ ทำให้คนที่เติบโตในสังคมไทยมีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมแบบไทย
Social Media
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม.(2553). ได้กล่าวไว้ว่า Social Media หรือ สื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อดิจิทัลหรือซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของระบบเว็บหรือเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม ที่มีผู้สื่อสารจัดทำขึ้นโดยที่ผู้เขียนจัดทำขึ้นเองหรือพบเจอสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวต่างๆ เหตุการณ์ บทความ ประสบการณ์ รูปภาพ วิดีโอและเพลง แล้วนำมาแบ่งปัน เนื้อหา ข้อมูล ข่าวสาร ประสบการณ์ และพูดคุย ให้ผู้ใช้ในโลกออนไลน์ในเครือข่ายของตนได้รับรู้ ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง กับคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพรวมถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกัน





ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Social Media
ที่มา : www.mayapolis.com

Social Media ที่ใช้งานกันในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท สรุปเป็นประเภทใหญ่ๆ ที่สามารถนำประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้ แก่ 1) Blog  2) Social Networking  3) Microblog  4) Media Sharing  และ 5) Social News and Bookmaking โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. Blog มาจากคำเต็มว่า Weblog บางครั้งอ่านว่า Weblog , Web Log ซึ่ง Blog ถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด ผู้ใช้ Blog สามารถเขียนบทความของตนเองและเผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย Blog เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่างๆ เผยแพร่ความรู้ด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Blog เช่น Learners, GotoKnow, wordpress,blogger เป็นต้น

2. Social Networking หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้เขียนและอธิบายความสนใจหรือกิจกรรมที่ทำเพื่อเชื่อมโยงความสนใจและกิจกรรมกับผู้อื่นในเครือข่ายสังคมด้วยการสนทนาออนไลน์ การส่งข้อความ การส่งอีเมล์ การอัปโหลดวิดีโอ เพลง รูปถ่ายเพื่อแบ่งปันกับสมาชิกในสังคมออนไลน์ เป็นต้น เครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Facebook,Hi5, Bebo, MySpace และ Google+ เป็นต้น



ตัวอย่าง การใช้ Facebook ในการจัดการเรียนการสอน

ในการนำเฟซบุ๊คมาใช้ เพื่อกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นสามารถนำเฟซบุ๊คมาใช้การแบ่งปันเรื่องราว ความรู้ แง่คิด ประสบการณ์ ทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของผู้อื่น สามารถนำสิ่งที่ได้มาปรับใช้ได้ การเรียนรู้รวมกันผ่านเฟซบุ๊คทำได้โดยสร้างกลุ่มเพื่อการเรียนรู้เรื่องที่สนใจร่วมกัน และสามารถนำ เฟซบุ๊คไปใช้ใน การจัดการเรียนการสอน โดยใช้เป็นกิจกรรมหลัก หรือการเสริมบทเรียน โดยการสร้างเป็นกลุ่มเรียนแล้วนำเสนอ สื่อการสอนในรูปแบบของเนื้อหา บทความ สื่อมัลติมีเดีย การนำเสนองาน ผลงาน ฯลฯ ทำให้เกิดความน่าสนใจเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ครูและนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการพูดคุย แสดงความคิดเห็น การสอบถาม การให้คำแนะนำและคำปรึกษา ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้ที่มีโอกาสเรียนรู้มากย่อมได้เปรียบ จะเห็นได้ว่าเฟซบุ๊คสามารถสร้างประโยชน์โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อีกช่องทางหนึ่ง

สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อการศึกษา : Social Media for Educationความหมาย Social Media

            Social Media
หมายถึงเครื่องมือหรือรูปแบบจากเว็บ 2.0 ที่นำมาใช้ในเชิงบูรณาการของเนื้อหาผ่านการถ่ายทอดจากการเขียนและการส่งผ่านข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์หรือเว็บเพ็จ และสื่อประเภทดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนของครูได้ในหลากหลายรูปแบบเช่น discussion , forum ,blogs , wikis และ 3d virtual worlds เป็นต้น

หรืออีกนัยคือ Social Media เป็นสื่อที่ทุกๆคนหรือแต่ละบุคคลสามารถที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้ในทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสถานที่และทุกเวลาที่จะสามารถสื่อสารได้ถึงกัน ( Everybody and anybody can shareanything anywhere anytime.) ความหลากหลายจากนิยามความหมายของสื่อสังคมหรือ Social media ที่กล่าวถึงนี้ ได้ถูกกำหนดไว้เป็นรูปแบบของสื่อเชิงทัศนะ ( Visualization Tool ) ที่เรียกว่า “Wordle” ซึ่งแสดงถึงกลุ่มค่าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับสื่อประเภท Social Media ดังตัวอย่างจากภาพ



 14
สื่อเชิงทัศนะชื่อ Wordle แสดงกลุ่มคำที่เกี่ยวข้องกับ Social Media
ที่มา : www.startbizfree.com

สื่อโซเชียลมีเดียในเชิงสัญลักษณ์ที่เรียกว่า Wordle นี้เป็นกลุ่มคำที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่มีความหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสังคมที่กล่าวถึง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสื่อประเภทนี้จะมีบทบาทสำคัญที่จะทำหน้าที่ในหลายประการที่เป็นคุณประโยชน์และคุณลักษณะของการใช้ในเชิงบูรณาการที่นำมาใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน รวมทั้งในด้านการศึกษาเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น