จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันนี้

MOOC

Massive Open Online Course (MOOCs)
คำว่า อีเลิร์นนิง นั้นเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงการการศึกษา  ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ ทางออนไลน์และอุปกรณ์โมบายต่างๆ ได้โดยสะดวก  เทคโนโลยีไอซีทีก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้งก็ทำให้เทคโนโลยีด้านอีเลิร์นนิงมีการพัฒนารูปแบบและช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว  และเทคโนโลยีด้านการศึกษาที่กำลังถูกกล่าวขวัญถึงในปัจจุบันกันอย่างมากก็คือ “MOOC” (อ่านว่า มู้ก”)



 ความหมายของ Massive Open Online Course 
Massive ผู้เรียนลงทะเบียนได้มากกว่า 10,000คน
Open     ไม่เสียค่าใช้จ่าย ใครๆก็ลงทะเบียนเรียนได้
Online    เรียนออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
Course    เปิดสอนได้ตลอดตามเวลาที่ต้องการได้ 

Moocs  ย่อมาจาก   Massive Open Online Course  หมายถึง   การเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แบบเปิดเสรีที่ไม่ว่าใครก็ตามจากซีกไหนในโลกสามารถสมัครเข้าเรียนได้ไม่จำกัดจำนวน โดยเฉพาะการศึกษาระดับสูงที่ในระบบการศึกษาเดิมนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะคนจำนวนน้อยเท่านั้น

องค์ประกอบของรายวิชา
MOOC                                 
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยต้องมี
1.       วิดีโอแบบสั้นๆหลายๆชุด เช่น
1)      การพูดให้ข้อมูล
2)      การยกตัวอย่างงาน
3)      การทดลอง
2.       เอกสารประกอบออนไลน์
3.       การสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4.       กิจกรรมออนไลน์
5.       การประเมินผลการเรียน
6.       การทดสอบความเขาใจ เช่น แบบเลือกตอบ   แบบจบกลม แบบประเมินตนเอง 

คุณสมบัติสำคัญสำหรับของ
MOOCs
เป็นระบบเปิดหรือเรียนได้แบบเสรี โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเป็นนักเรียนหรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
รองรับผู้เรียนได้อย่างกว้างไกลและรับจำนวนผู้เรียนมากได้ ซึ่งมีความแตกต่างกับการเรียนแบบเดิมๆ ที่รองรับผู้เรียนได้จำนวนน้อยเพราะต้องใช้ครูสอน ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดเรื่องอัตราส่วนของครูกับคนเรียน ซึ่ง MOOCs ไม่มีข้อจำกัดนั้น เพราะสามารถรองรับผู้เรียนได้แบบมหาศาล

ผู้ให้บริการ MOOC (MOOC Provider) ยอดนิยม 

เส้นทางความสัมพันธ์และเงินทุนของ 4 MOOC ยอดนิยม 


KHAN ACADEMY (Khanacademy.org)
                                                
                                                  Salman Khan อดีตนักวิเคราะเฮจด์ฟันด์ผู้ก่อตั้ง Khan Academy





ความเป็นมา
 ก่อตั้งโดย Salman Khan ชาวอเมริกันเชื้อสายบังคลาเทศ-อินเดีย ซึ่งเปิดสอนหัวข้อในระดับมัธยมเป็นหลักและขยายไปหลากหลาย ซึ่ง Salman Khan มีอดีตเป็นนักวิเคราะห์ของบริษัทเฮจด์ฟันด์ และเคยเรียนจบทั้ง MIT และ Harvard Business School  ซึ่งบังเอิญต้องมาช่วยสอนการบ้านหลานสาวทาง YouTube  เมื่อคนดูแล้วชอบเลยได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิ Bill & Melinda Gates ถึง 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้เงินรางวัลสนับสนุนอีกหลายแหล่ง และตอนนี้มีวิชาให้เรียนกว่า 3,000 บทเรียนแล้ว และมีคนเช้ามาเรียนกว่า 70,000 คนทุกๆ วัน  มีระบบติดตามประเมินการเรียน และมีการให้ Badge เป็นรางวัลรับรองความสำเร็จอีกด้วย ที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนใดๆ ทั้งสิ้น
MOOC พันธุ์ไทย

                     ความจริงประเทศไทยก็มีการให้บริการความรู้ทางออนไลน์มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว อย่างเช่น เว็บไซต์ ไทยกู๊ดวิวดอทคอม(Thaigoodview.com) ที่เกิดจากหน่วยงานเอกชนและรัฐบาลร่วมมือกัน, วิชาการดอทคอม (vcharkarn.com) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท), ทรูปลูกปัญญา (trueplookpanya.com) ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จำกัด และถ้าเป็นระดับมหาวิทยาลัยทางโครงการ Thailand Cyber University (TCU : Thaicyberu.go.th) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาของรัฐ (สกอ.) ก็ได้นำเสนอบทเรียนออนไลน์เพื่อเรียนฟรีตามอัธยาศัย (self-pace) กว่า 600 รายวิชาแล้ว จากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมมือในโครงการนี้   และปัจจุบันทาง TCU ก็กำลังริเริ่มจะมีการเรียนการสอนในรูปแบบ MOOC มาตรฐาน เรียกว่า Thai-MOOC โดยมีมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ก่อตั้งคือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็หวังว่าเราจะได้เห็นบรรยากาศความตื่นตัวในการเรียนรู้ของคนไทยเพื่อเตรียมตัวต้อนรับสู่ AEC ในไม่ช้านี้

 ปัญหาและความท้าทายของ MOOC
ปัญหาท้าทายมากที่สุดของ MOOC ก็คืออัตราการเลิกเรียนหรือเรียนไม่จบยังสูงมาก   โดยครั้งหนึ่งได้มีการสำรวจพบว่ามีนักเรียนเข้าไปลงทะเบียนเรียนใน edX  วิชา Circuits & Electronics จำนวนมากถึง 155,000 คน แต่มี  23,000 คนเท่านั้นที่ได้แต้มไปบ้าง (หมายถึงได้ลงมือทำแบบฝึกหัดอะไรไปบ้าง)  แต่มีเพียง 9,300 คนที่ผ่านการสอบกลางภาค พอถึงก่อนสอบปลายภาคก็เหลือนักเรียนแค่ 8,200 คน ซึ่งจากจำนวนนี้มี 7,000 คนเท่านั้นที่ผ่านหลักสูตรโดยสมบูรณ์  และจากจากสำรวจเจาะลึกพบกว่า มีเพียงครึ่งหนึ่งจากผู้เรียนจบเท่านั้นที่มีอายุอยู่ในวัยเรียนมหาวิทยาลัยตามระบบ  ที่สำคัญคือสองในสามของนักเรียนกลุ่มนี้ ยอมรับว่าเคยเรียนวิชาที่คล้ายกับวิชา Circuits & Electronics มาแล้ว แต่เกือบทุกคนบอกว่าการออกแบบหลักสูตรของ edX ดีกว่าที่เคยเรียน  จะเห็นได้ว่า MOOC อาจเป็นช่องทางการเรียนเสริมที่ดีมากกว่าการเรียนที่จะเอาประกาศนียบัตร  แต่ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้เรียนตั้งใจเรียนจนจบในอัตราส่วนที่มากกว่านี้

โอกาสของคนทำอีเลิร์นนิง และครู/อาจารย์
           MOOC มีโอกาสที่จะไม่ใช่แค่มา ปรับโฉมรูปแบบการศึกษาในโลกยุคดิจิตอลเท่านั้น แต่อาจถึงขั้น ปฏิวัติการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษากันเลยทีเดียว  (แต่มหาวิทยาลัยในรูปแบบเดิมก็ยังคงอยู่) ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดประตูแห่งโอกาสอย่างกว้างขวางสำหรับนักเรียนแล้ว  ยังเปิดโอกาสให้กับนักพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิตอล  ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบการสอน (Instructional Designer), นักพัฒนาหลักสูตร (Courseware Engineer), นักออกแบบกราฟิก, นักถ่ายและตัดต่อวิดิโอ แม้กระทั่งครูอาจารย์ที่จะได้บทบาทเพิ่มเติมเป็นนักแสดง นักเล่าเรื่อง และนักเขียนบทอีกด้วย  ซึ่งดูเหมือนงานจะมากขึ้น  แต่ความจริงแล้วงานสอนจะมีความสร้างสรรค์และมีคุณภาพมากขึ้น แต่เหนื่อยที่ต้องพูดซ้ำๆ กันน้อยลงมากมาย  นอกจากนี้ยังมีโอกาสทำรายได้มากขึ้นจากส่วนแบ่งของการสอนอีกด้วย   (ภาสกร ใหลสกุล 2014)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น