จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันนี้

Cloud Computing

       Cloud Computing หมายถึง ทรัพยากรสำหรับการประมวลผลที่จัดเตรียมและจัดการโดยบุคคลหรือองค์กรที่สาม (Third Party) โดยทรัพยากรเหล่านี้ถูกจัดเตรียมไว้ที่  Data Center    จากนั้น ผู้ใช้ของ Cloud Computing สามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรเหล่านี้โดยการซื้อ (หรือเช่า)ได้ตามที่ต้องการ
ทำไมต้องมีชื่อว่า Cloud Computing


สาเหตุที่มีชื่อว่า Cloud Computing ก็มาจากสัญลักษณ์รูปเมฆ (Cloud) ที่เราใช้แทนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ลองดูตัวอย่างได้จากโปรแกรมMicrosoft Visio อย่างเวลาเราจะวาดแผนผังเครือข่าย สัญลักษณ์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็คือรูปเมฆ



หน้าตาของ Cloud Computing


เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Cloud Computing
.) Agility (ว่องไวไร้ที่ติ)
ผู้ใช้จะรู้สึกเหมือนทุกอย่างผ่านไปอย่างเร็ว
.)  Cost (ลดค่าใช้จ่าย)
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กร และอาจฟรีสำหรับ Client
.) Device and location independence (ห่างไกลไร้พันธนาการ)
ใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
.) Multi-tenancy (แบ่งกันใช้งาน)
สามารถแบ่งทรัพยากรไปให้ผู้ใช้จำนวนมาก เช่น  Centralization สร้างจุดศูนย์รวมบริการอย่าง Real estate ขายบ้าน เป็นต้น
.) Reliability (ยิ่งใหญ่)
ในทางธุรกิจแล้ว ความน่าเชื่อถือ เป็นสิ่งดึงดูดกำไรเข้าองค์การเลยก็ว่าได้ มีความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยคุกคามข้อมูลต่างๆมากแค่ไหน
.) Scalability (ยืดหยุ่นได้)
พร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้ใช้ และเตรียมรองรับเทคโนโลยีหลายๆรูปแบบ
.) Security (ปลอดภัย)
สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ และยิ่งใน Cloud Computing แล้วข้อมูลรวมอยู่ที่เดียวกัน ก็ยิ่งต้องเพิ่มความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น
.) Sustainability (มั่นคง)
โครงสร้างที่แข็งแรง

                                                                Private (Internal)
           Cloud ที่ใช้ภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น  ผู้ใช้อาจดูแลอุปกรณ์ไอทีด้วยตนเอง หรือจ้างบุคคลที่สามดูแลให้ก็ได้ อุปกรณ์อาจติดตั้งในสถานที่ของผู้ใช้ หรืออยู่ภายนอกทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้

                                                                          Community
Cloud ที่ใช้ร่วมกันระหว่างกลุ่มขององค์กรที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน   เป็นการใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีร่วมกันเฉพาะในกลุ่มสมาชิกที่มีเรื่องต้องปฏิบัติ หรือต้องกังวลคล้ายกัน เช่นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยการใช้ข้อมูล มีข้อต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของรัฐ หรือขององค์กรเหมือนกัน หรือมีกฎระเบียบและกติกาที่ต้องปฏิบัติคล้ายกัน ชุมชนอาจดูแลและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอทีด้วยชุมชนเอง หรือทำผ่านบุคคลที่สาม อุปกรณ์จะติดตั้งในสถานที่ของชุมชน หรือนอกสถานที่ก็ได้



                                                                             Public
Cloud ที่ให้บริการกับบุคคลทั่วๆ ไปใครก็ตามที่มี Internet จะสามารถใช้บริการได้ เป็นการใช้บริการคลาวด์ ร่วมกับสาธารณะชน องค์กรทั่วไป และกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ ผู้ให้บริการเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไอทีและระบบซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

                                                                             Hybrid
การเอา Cloud ชนิดต่างๆ มาเชื่อมต่อกันสร้างเป็น Cloud ที่มีคุณลักษณะพิเศษ เช่น Private - Public Cloud เป็นการใช้บริการที่ผสมผสานระหว่างคลาวด์ส่วนตัว คลาวด์ชุมชน หรือคลาวด์สาธารณะ ผู้ให้บริการแต่
รูปแบบการให้บริการ
        .) Software as a Service
                                  Software as a Services (: SaaS)  อันนี้ก็คือโปรแกรมบน WEB Browser ที่เราใช้ๆ กันอย่างพวก Hotmail, Gmail นี่แหละ คือเราสามารถใช้งานโปรแกรมของผู้ให้บริการผ่าน internet โดยที่เราไม่ต้องไปสนใจเลย ว่าเขาจะพัฒนาด้วยภาษาอะไร เครื่องให้บริการเขายี่ห้ออะไร รุ่นไหน อยู่ที่ไหน และเราไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ บนเครื่องเราเลย ผู้ใช้เพียงแต่เปิด WEB Browser ขึ้นแล้ว Connect เข้าอินเตอร์เน็ตให้ได้ จากนั้นก็เรียกใช้โปรแกรมของเขา ซึ่งในรูปแบบนี้ต่อไปคงมีทั้งแบบที่เสียเงินตามปริมาณข้อมูล หรือเวลา ที่แต่ละคนให้บริการเขาจะคิดตังค์ หรือแบบฟรี services แต่เขาไปขาย Ad หรือโฆษณาต่างๆ
.)   Platform as a Services
                                 Platform as a Services (PaaS) คือ คนให้บริการเขาจะจัดเตรียมพวกอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงภาษาคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือโปรแกรมสำหรับพัฒนาเตรียมไว้ให้หมดแล้ว แต่ผู้ใช้ หรือนักพัฒนาจะสามารถที่จะทำการพัฒนา ปรับปรุง ระบบงานหรือโปรแกรมต่างๆ ของตัวเองหรือพัฒนาโปรแกรมตามโครงสร้างที่ผู้ให้บริการจัดเตรียมไว้ให้ได้ เพื่อใช้ในการทดสอบระบบงาน

        ในปัจจุบันนี้มีผู้ให้บริการ Cloud Storage รายใหญ่ๆ จำนวน 4 ราย ซึ่งก็เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เราไปทำความรู้จักกับบริการ Cloud Storage ของแต่ละรายกันเลยดีกว่าครับ

SkyDrive จาก Microsoft

               SkyDrive เป็นหนึ่งในการบริการของ Windows Live (ที่มีการเปลี่ยนจาก Hotmail) ซึ่งทำหน้าที่ Cloud Storage เริ่มให้บริการมานานแล้วแต่ไม่เป็นที่รู้จัก เหตุผลที่ SkyDrive ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ก็คือ มาเร็วเกินไปในสมัยก่อนยังไม่มีคำว่า Cloud Computing ด้วยซ้ำ อีกทั้งรูปแบบนั้นยังใช้งานยาก แล้วยังจำเป็นที่จะต้องต่อกับอินเตอร์เน็ตทำให้ความสะดวกในการใช้ไม่มีค่อยมีมากนัก มาตอนหลัง Microsoft ได้ปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยมีพื้นที่เก็บข้อมูลแบบฟรีๆ ถึง GB ถือว่าเยอะมากและสามารถเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลฟรีได้มากถึง ๒๕GB นอกจากนี้ยังความสะดวกสบายด้วยการ Sync ข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยรองรับการทำงานได้ทั้งบน PC และ MAC  ส่วน APP ในกลุ่มโมบาย แน่นอนว่าจะรองรับ Window Phone 




Google Drive จาก Google

        อีกหนึ่งเจ้ารายใหญ่ทางอินเตอร์เน็ตอย่าง Google ก็ได้เริ่มสร้างกระแสบริการ Cloud Storage ขึ้นมาในชื่อ Google Drive ที่อัพบริการจาก Google Docs ซึ่งมีพื้นที่ที่ให้บริการทั้งหมด GB สามารถเข้าได้ทั้งทางเว็บในเวอร์ชั่น Windows และ MAC OS X และอุปกรณ์แท็บเล็ตแบบ Android ก็สามารถเข้าไปแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ได้อย่างอิสระ
iCloud จาก Apple

          Apple iCloud หรือ iCloud ที่เรารู้จักกันก็เป็นบริการแบบ Cloud Storage เช่นกัน โดย iCloud ก็มีพื้นที่ที่จะให้บริการทั้งหมด 5GB สามารถเข้าได้ทั้งทาง ไอแพด ไอโฟนและยังสามารถเข้าได้ทางคอมพิวเตอร์แต่ถ้าจะใช้งานเราก็จะต้องมี Apple ID และอนุญาตให้เก็บไฟล์ข้อมูลฟรีเป็นบางประเภทเท่านั้น เช่น รูปภาพ ถ้าต้องการที่จะเก็บไฟล์รูปแบบอื่นท่านก็ต้องไปโหลด แอพพลิเคชั่นต่างหากและไม่มี feature แชร์ไฟล์หรือโฟลเดอร์ใดๆ
Dropbox

           Dropbox ให้บริการพื้นที่เก็บฟรี GB และสามารถใช้ได้สูงสุดถึง GB โดยที่เราต้องทำตามเงื่อนไขของ Dropbox และสามารถเข้าใช้งาน Dropbox ได้ในระบบคอมพิวเตอร์เวอร์ชั่น Windows, MAC OS X และ Linux และอุปกรณ์มือถืออย่าง Smart Phone, Tablet ทั้ง iOS , Android และ BlackBerry นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ได้
 ปรียบเทียบการให้บริการ Cloud Storage
การให้บริการฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
SkyDrive
iCloud
Google Drive
Dropbox
พื้นที่จัดเก็บออนไลน์ (ฟรี)
7 GB
5 GB*
5 GB
2 GB
อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้งานได้
http://www.jib.co.th/jib_content/images/content/filepicker-N0ZTNeqSIKwMfYNdclmy_apple.jpg http://www.jib.co.th/jib_content/images/content/windows-phone-8-logo-new.png http://www.jib.co.th/jib_content/images/content/OS7_blackberry_browser.jpg 
http://www.jib.co.th/jib_content/images/content/filepicker-N0ZTNeqSIKwMfYNdclmy_apple.jpg 
http://www.jib.co.th/jib_content/images/content/Android-logo.png http://www.jib.co.th/jib_content/images/content/OS7_blackberry_browser.jpg
http://www.jib.co.th/jib_content/images/content/Android-logo.png http://www.jib.co.th/jib_content/images/content/filepicker-N0ZTNeqSIKwMfYNdclmy_apple.jpg http://www.jib.co.th/jib_content/images/content/BlackBerry-Issues-Open-Letter-to-Fans-You-Can-Still-Count-on-Us-391147-21.jpg http://www.jib.co.th/jib_content/images/content/OS7_blackberry_browser.jpg

 iCloud อนุญาตให้เก็บไฟล์ฟรีได้เฉพาะไฟล์บางประเภทเท่านั้น อย่างเช่น รูปภาพ ในกรณีต้องการเก็บไฟล์เอกสาร iWork ในระบบ iCloud ผู้ใช้ต้องซื้อ iWork App เพิ่ม

          ในกรณีถ้าผู้ใช้ต้องการบริการพื้นที่จัดเก็บไฟล์เพิ่มเติมจากที่ให้บริการแบบฟรี ผู้ใช้ก็สามารถรับบริการเพิ่มเติมจากเดิมได้แต่ต้องเสียค่าบริการ โดยมีอัตราค่าบริการดังนี้

SkyDrive คิดอัตราบริการต่อปีถูกที่สุด โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก ๓ ขนาด คือ
          •   ๒๐ GB อัตราค่าบริการประมาณ ๓๐๐ บาท (๑๐$)
          •   ๕๐ GB อัตราค่าบริการประมาณ ๗๕๐ บาท (๒๕$)
          •   ๑๐๐ GB อัตราค่าบริการประมาณ ๑,๕๐๐ บาท (๕๐$)
Apple iCloud คิดอัตราบริการต่อปี โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก ๒ ขนาด คือ
          •   ๒๐GB อัตราค่าบริการประมาณ ๑,๒๐๐ บาท (๔๐$)
          •   ๕๐GB อัตราค่าบริการประมาณ ๓,๐๐๐ บาท (๑๐๐$)
Google Drive มีพื้นที่ความจุให้เลือกขนาดเดียวคือ
          •   ๑๐๐ GB อัตราค่าบริการประมาณ ๑,๘๐๐ บาท (๖๐$) ต่อปี
Dropbox คิดอัตราบริการต่อปี โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก ๒ ขนาด คือ
          •   ๕๐ GB อัตราค่าบริการประมาณ ๒,๙๗๐ บาท (๙๙$)
          •   ๑๐๐ GB อัตราค่าบริการประมาณ ๕,๗๙๐ บาท (๑๙๙$)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น